วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ปัญญาที่แท้จริงทำให้ไม่หลงยึดติด....
ความติดนี่มันเป็นทุกข์...เมื่อไม่ติดมันก็ไม่เป็นทุกข์
เรามีอะไร เราใช้อะไร โดยไม่ต้องติดจะได้หรือไม่...ได้
พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าได้ ใช้โดยไม่ติด รับโดยไม่ติดในสิ่งนั้น
เราทำอย่างไร....? เราก็....ใช้ปัญญาพิจารณาไว้ให้รู้ว่า...
รูป...นั้นคืออะไร ?
รูป...นั้นเป็นของจริงแท้หรือไม่ ?
เสียง...มันมีจริงมีแท้ไหม ?
หรือมันเป็นเพียงแต่ลมผสมกันเข้ากับความอยากในจิตใจ
เปล่งเสียงออกมาเป็นคำด่าคำชมคำติว่าอะไรต่างๆ...
แล้วมันคงทนถาวรหรือเปล่า...มันก็หายไป
เสียงพูดเข้าไมโครโฟนแล้วมันก็หายไป พอหยุดพูดมันก็ไม่มี
เสียง พอพูดต่อเสียงมันก็มาต่อไป...'เสียง' ไม่ได้เกิดก่อน
หรือเกิดหลังการพูด แต่มันเกิดพร้อมกันพอพูดปุ๊บ
มันก็เข้าไปในไมโครโฟนทันที
แล้วเข้าเครื่องออกไปเป็นเสียงดังฟังทั่ววัด...
เสียงนั้นมันไม่ใช่ของแท้ มันเป็นของผสมปรุงแต่งจึงเกิด
เป็นเสียงขึ้น ถ้าเราฟังว่ามันดี...ก็อย่าไปยึดถือ
ไม่ดี...ก็อย่าไปยึดถือ อย่าไปยินดีในเสียงนั้น
อย่าไปยินร้ายในเสียงนั้น ให้มีปัญญารับด้วยปัญญา...
ก็คือรับว่าเสียงนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่เสียงนี้เป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ ถ้าเราเข้าไปยึดทุกข์ไหม ? ถามตัวเองอย่างนั้น
ถ้าเรามีปัญญาก็ตอบว่า ไม่ควรจะเข้าไปยึดถือเสียงนั้น...
แต่ควรรู้จักมันไป ดูมันไป มันเคลื่อนไหวไปในทางไหน
เราก็ดูตามมันไป เหมือนเราแอบดูผู้ร้ายเข้าบ้านแอบดูไว้ว่า
มันไปทางไหน...มาทางไหน แล้วก็แอบโทรฯ ไปบอกตำรวจ
ตำรวจก็จับเอาไป เรามีสติปัญญาก็ใช้อย่างนั้น...
คอยกำหนดมันไว้ว่าอะไรเกิดขึ้น...
'ตา'...เห็นรูป เกิดความรู้สึกทางตา แล้วก็เกิดอะไรต่อไป
ตามลำดับจนเกิดความยึดมั่นในสิ่งนั้น นั่นเป็นความผิด
จะเพิ่มความทุกข์ให้แก่ตัวเราเอง เราก็ไม่ยึด...
แต่ว่าเรารู้ว่ามันคืออะไร...
มองตลอดสายสายตั้งแต่ต้น...กลาง...ปลาย
รู้หมดว่ามันคืออะไร...มันจะทำอะไรให้เกิดขึ้น ก็ปล่อยให้
มันเกิดไปตามเรื่อง ดับไปตามเรื่องของมัน
เราอย่าไปเก็บไว้ อย่าไปกักไว้....ฯ
อกหัก..เสียใจไม่ใช่เรื่องแปลก ?
ความอ้างว้างไม่ได้โหดร้ายอะไรนัก
มันก็แค่ช่วงเวลาที่เธอควรใช้มันให้กับตัวเอง
หลังจากที่วุ่นวายไปกับชีวิตคนอื่นมานานพอควร
ถ้าเธอเคยหกล้ม
เธอก็จะเดินอย่างระมัดระวังมากขึ้น
ไม่ใช่คิดจะไม่เดินอีกเลย
บางครั้งคนเรา
ก็ต้องยอม รับในสิ่งที่ตัวเองไม่เข้าใจ
และต้องยอมรับในการตัดสินใจของคนอื่น
ถึงมันจะไม่ดีกับเธอเลยก็ตาม
เพราะเราเลือกแต่เหตุการณ์นี้
ให้เกิดกับชีวิตเราไม่ได้เสมอไป
ความรักก็มีชีวิตเหมือนดอกไม้
และไม่มีแจกันใด
จะถนอมความงามของดอกไม้ไว้ได้ตลอดไปหรอก
ความเสียใจไม่ใช่เรื่องแปลก
แต่หากเสียใจไม่จบสิ้น นั่นจึงแปลก
เรียนรู้เพื่อปล่อยวาง
อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
เมื่อเปรียบเทียบกับจิตใจ
ที่หลาย ๆ คน อาจมองเห็นว่า เล็กน้อย
แต่ในความเป็นจริง
อาณาจักรใด ๆ ก็ไม่ยิ่งใหญ่
เท่ากับอาณาจักร คือ จิตใจ
โลกทั้งโลก
จะอยู่ภายใต้จิตใจของเรานี่เอง
การเรียนรู้โลกภายนอก
ที่อาจดูว่ากว้างใหญ่
ก็ยังไม่เท่ากับการเรียนรู้โลกภายใน
นั่นคือ จิตใจของเราเอง
การเรียนรู้เพื่อปล่อยวาง
หลายคนก็มักคิดเสมอว่า..
ทำได้ยาก
เพียงเพราะไม่รู้จักวิธี
ที่จะหยุดถามใจตนเองสักนิดว่า..
ชีวิตของเราคือ อะไร ?
ชีวิตของเราเป็นอย่างไร ?
ชีวิตของเราเป็นไปอย่างไร ?
ชีวิตของเราควรให้เป็นไปอย่างไร ?
และชีวิตของเราควรเป็นอยู่อย่างไร ?
นี่ต่างหาก
ที่เป็นคำถามที่ต้องการให้เราได้ตอบ
หากเราตอบคำถามเหล่านี้ได้
นั้นจะเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่
เป็นการเห็นคุณค่าของชีวิตได้อย่างแท้จริง
การเรียนรู้ความเป็นไปต่าง ๆ
ของชีวิตอย่างเข้าใจ
แล้วปล่อยวาง..
นั่นจะเป็นการค้นพบจุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต
เพราะนั้น คือ การบรรลุธรรม
ที่ลึกซึ้ง สูงสุด ในจิตใจ
คงไม่ยากเกินไป
สำหรับการบรรลุสภาวะแห่งความสงบสุขนั้น
คงไม่ยากเกินไป
สำหรับการหยุด..เพื่อเรียนรู้และปล่อยวาง
แบตเตอรี่หัวใจ
โทรศัพท์จะสวยงามเพียงไร
จะมีราคาแพงมากสักเท่าใด
หากแบตเตอรี่อ่อน..แบตเตอรี่เสื่อม..
ก็ไม่มีค่า..ไม่มีความหมายอะไร
เป็นเหมือนเศษเหล็ก..
เศษไม้ธรรมดา..
ที่ใช้ประโยชน์ในการสื่อสารไม่ได้
ชีวิตของคนเราก็เช่นเดียวกัน
หากหมดกำลังใจ
ก็ยากที่จะดำเนินชีวิต
ให้ประสบความสำเร็จได้
แบตเตอรี่..
หมดถ่าน..เราต้องชาร์ทไฟ
แบตเตอรี่หัวใจ..หมดไฟ
เราต้องชาร์ทพลังใจ..เสริมสร้างพลังงาน
พลังใจสร้างขึ้นได้
ด้วยการฝึกฝน..อบรมจิตใจ
เป็นการเติมเชื้อไฟให้กับตนเอง
ความสุข
จะบังเกิดขึ้นในจิตใจ
เพียงเพราะทำใจไม่ให้สับสนวุ่นวาย
ทำใจให้หยุดนิ่ง
มีสติรู้เท่าทัน
เมื่อนั้น..ความสงบจะบังเกิดขึ้นทันที
น้ำใส..จิตใจผ่องใส
จะมองอะไรก็ย่อมเห็น..ได้อย่างชัดเจน
น้ำขุ่น..จิตใจเศร้าหมอง
ย่อมมองอะไรก็ไม่เห็น..และไม่ชัดเจน
เรามาช่วยกันเติมเต็ม
ชาร์ทแบตเตอรี่หัวใจกันเถอะ
อย่างปล่อยให้หมดถ่าน..หมดไฟ
เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น
นานวันไป..แบตเตอรี่อาจจะเสื่อมคุณภาพ..
และใช้ประโยชน์ไม่ได้
สิ่งที่มีค่า
อาจจะไม่มีคุณค่า
ถ้าเราไม่ใส่ใจ..และขาดกำลังใจ
คนเรา..
จะขาดสิ่งใดก็ได้
แต่อย่าขาดกำลังใจ
จะเสียอะไรก็ได้
แต่อย่าเสียกำลังใจ
จะหมดอะไรก็ได้
แต่อย่าหมดกำลังใจ
กำลังใจสำคัญที่สุด
ต้องเพิ่มให้ปล่อย..ทำให้เต็ม
อย่าปล่อยให้ลดหรือหมดกำลังใจอย่างเด็ดขาด
ล้านดวงใจ คือ หนึ่งใจดวงเดียวกัน..
ในโลกแห่งความสับสนวุ่นวาย..
จากปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นมรสุมร้ายในชีวิต..
ที่เป็นอุปสรรคที่คอยกีดขวาง..
ให้เราเกิดความท้อแท้..สิ้นหวังในชีวิต..
เพียงเพราะ..การขาดกำลังใจ..
ใจหนึ่งเดียว...
ที่มี ๔ ห้อง..ประกอบด้วย..
ห้องที่ ๑ เต็มไปด้วยความรัก..
ห้องที่ ๒ เต็มไปด้วยความหวัง...
ห้องที่ ๓ เต็มไปด้วยความตั้งใจ..
ห้องที่ ๔ เต็มไปด้วยพลังใจ...
รวมเรียกว่า...๔ ห้องหัวใจ..รวมใจเป็นหนึ่งเดียว...
การขาดกำลังใจ..
ต้องรู้จักที่จะเติมเต็มไฟ คือพลัง ลงในจิตใจ นั่นคือ..
-ไฟแห่งความรัก------สร้างด้วยความศรัทธา
-ไฟแห่งความหวัง-----สร้างด้วยความมุ่งมั่น
-ไฟแห่งความตั้งใจ----สร้างด้วยความสำเร็จ
-ไฟแห่งพลังใจ-------สร้างได้ทุก ๆ อย่าง
หากเราเชื่อมั่น...ศรัทธา..และพยายาม
ทุก ๆ สิ่ง ทุก ๆ อย่าง..
ที่เราหวังและตั้งใจ..
ก็จะสำเร็จ..และง่ายดาย..
เพราะพลังใจ..ที่เกิดจาก ๔ ห้องหัวใจ..
ที่เราสามารถเติมเต็มในส่วนที่ขาดในชีวิตได้..
ในเวลาไม่กี่วินาที...ไม่กี่ชั่วโมง..
ทุก ๆ วินาทีของความสำเร็จ..
เริ่มต้นที่วินาที...เริ่มต้นของใจเดียวเดียวกัน..
จงรักและเชื่อมั่น..
จงศรัทธาและพยายาม...
แล้วเราจะประสบความสำเร็จ..
วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง
อาศัยอยู่บ้านหลังหนึ่ง
ทุกๆเช้า ภรรยาจะแอบมองดูเพื่อนบ้าน
จากหน้าต่างชั้นบนบ้าน
และวิ่งกลับมารายงานให้สามีฟัง
" เพื่อนบ้านเรานี่
ซักผ้าไม่เป็นเลย
เสื้อผ้าสกปรกเหลือเกิน
ไม่รู้เขาใช้ผงซักฟอกยี่ห้ออะไร
หรือใช้วิธีซักอย่างไร "
สามีก็ตอบว่า
"อย่าไปสนใจคนอื่นเขาเลย
เราซักผ้าของเราให้สะอาดก็แล้วกัน"
แต่ภรรยาก็ยังไปแอบดูเพื่อนบ้านอยู่ทุกเช้า
จากหน้าต่างข้างบนบ้าน
และวิ่งกลับมารายงานสามีทุกเช้า
"เสื้อผ้าของเขาสกปรกอีกแล้ว"
ต่อมาวันหนึ่ง
ภรรยาวิ่งลงมารายงานสามี
ด้วยความแปลกประหลาดใจ
"ไม่เข้าใจจริงๆ
ว่าวันนี้เกิดอะไรขึ้น
เสื้อผ้าของเขาขาวสะอาด
อยากจะรู้เหลือเกินว่า
เขาเปลี่ยนมาใช้ผงซักฟอกยี่ห้ออะไร
หรือทำอย่างไร.."
สามีหัวเราะและกล่าวว่า
"นี่..ฉันรำคาญเธอเหลือเกิน เมื่อเช้าฉันตื่นแต่เช้ามืด
และไปเช็ดกระจกหน้าต่างให้ใสสะอาด..
ก่อนหน้านี้ กระจกมันสกปรก
เธอมองออกไป ก็เห็นแต่ความสกปรก.."
มนุษย์เราชอบมองคนอื่น
โดยผ่านจิตใจของเราออกไป
เมื่อจิตใจของเราสะอาด
เราก็จะเห็นแต่ความดีงามรอบๆตัว
แต่ถ้าจิตใจของเราสกปรก เราก็จะเห็นแต่ความสกปรกรอบตัว
การที่เราเห็นแต่ความเลวรอบๆตัวเรา เราต้องเข้าใจว่า
แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่เราเห็น มันเกิดขึ้นในจิตใจของเรา
และเราจะต้องหาทางฝึกจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์
ถ้าเราเห็นแต่สิ่งที่เลว จิตใจก็ไม่สงบ
เราก็จะกลุ้มอกกลุ้มใจ มีความทุกข์
แต่ถ้าเราหัดมองในแง่ดี เราก็จะคิดแต่สิ่งที่ดี
จิตใจก็จะเบิกบานและมีความสุข
คนที่ถูกนินทาด่าว่ามีอยู่ทั่วไป ถ้าจะเพิ่มเราเป็นผู้ถูกนินทา
เข้าไปอีกสักคน จะเป็นไรไป ...
ที่มา : www.dek-d.com
วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
คำสอน ง่ายกับยาก
ง่ายที่จะ...ตัดสินความผิดพลาดของคนอื่น
ยากที่จะ...สำนึกถึงความผิดของตนเอง
ง่ายที่จะ...พูดโดยไม่คิด
ยากที่จะ...ไม่พูด
ง่ายที่จะ...ทำร้ายคนที่รักเรา
ยากที่จะ...เยียวยาบาดแผลที่เราทำไว้กับเขา
ง่ายที่จะ...อภัยให้คนอื่น
ยากที่จะ...ขอให้คนอื่นอภัยให้
ง่ายที่จะ...ตั้งกฎเกณฑ์
ยากที่จะ...ทำตามกฎนั้น
ง่ายที่จะ...ฝันทุกค่ำคืน
ยากที่จะ...สู้เพื่อฝันนั้น
ง่ายที่จะ...อวดความสำเร็จ
ยากที่จะ...ยอมรับความพ่ายแพ้อย่างมีศักดิ์ศรี
ง่ายที่จะ...ชื่นชมความงามของดวงจันทร์
ยากที่จะ...เห็นอีกด้านของมันที่ไม่สวยงามนัก
ง่ายที่จะ...สะดุดหกล้ม
ยากที่จะ...ลุกขึ้นมาใหม่
ง่ายที่จะ...มีความสุขในทุกวัน
ยากที่จะ...เห็นคุณค่าที่แท้จริงของความสุขนั้น
ง่ายที่จะ...สัญญากับใคร ๆ
ยากที่จะ...ทำตามสัญญานั้น
ง่ายที่จะ...บอกว่ารัก
ยากที่จะ...แสดงความรักนั้น
ง่ายที่จะ...วิจารณ์คนอื่น
ยากที่จะ...ปรับปรุงตนเอง
ง่ายที่จะ...ทำผิด
ยากที่จะ...เรียนรู้จากความผิดนั้น
ง่ายที่จะ...ทุกข์ทรมานเพราะสูญเสียความรัก
ยากที่จะ...รักษารักนั้นเพื่อที่จะไม่ต้องสูญเสียมันไป
ง่ายที่จะ...คิดที่จะปรับปรุง
ยากที่จะ...เลิกคิด แล้วทำให้มันเกิดขึ้นจริงซะที
ง่ายที่จะ...คิดกับคนอื่นในแง่ร้าย
ยากที่จะ...ให้โอกาส และคิดว่าเขาอาจจะไม่เป็นเช่นที่เราคิด
ง่ายที่จะ...รับ
ยากที่จะ...ให้
ง่ายที่จะ...รักษาความเป็นเพื่อนด้วยคำพูด
ยากที่จะ...ทำตามความหมายของคำว่าเพื่อน
มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่อยอมแพ้
มนุษย์อาจถูกทำลายได้แต่จะไม่ยอมแพ้
จะเข้มแข็ง...หรือจะอ่อนแอ
โอลิเวอร์ โกลด์สมิธ กล่าวไว้ว่า
“ความภูมิใจอันยิ่งใหญ่ มิใช่อยู่ที่การไม่เคยหกล้ม
แต่.....อยู่ที่การลุกขึ้นทุกครั้ง ที่หกล้มต่างหาก...”
จะเข้มแข็ง.... หรือจะอ่อนแอ
ชีวิตคนเราบางครั้งก็มีความท้อแท้ อ่อนแอ เกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่หากมีความอ่อนแออยู่เป็นประจำ ก็จะทำให้เป็นคนล้มเหลว ระหว่างผู้เข้มแข็งและผู้ที่อ่อนแอนั้นมีบุคคลิกลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
๑. ผู้ที่เข้มแข็งจะไม่ลดละความพยายาม ไม่ยอมแพ้ตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้น จะพยายามหาข้อมูล และหาเหตุผลเพื่อที่จะเอาชนะปัญหา อุปสรรค.....แต่ผู้ที่อ่อนแอมักทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม
๒. ผู้ที่เข้มแข็งจะไม่พร่ำบ่นถึงปัญหาส่วนตัว หรือนำมาเกี่ยวข้องกับการทำงาน แต่จะจัดลำดับความสำคัญของงาน แยกแยะปัญหางานออกจากปัญหาส่วนตัว.....แต่ผู้ที่อ่อนแอมักทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม
๓. ผู้ที่เข้มแข็งจะคิดใหญ่ คิดว่าตนเองมีความสามารถ พัฒนาความรู้ของตนอยู่เสมอ มีความมุ่งมั่น และคิดว่าตนเองเป็นผู้ที่มีความสามารถเช่นเดียวกับผู้อื่น.....แต่ผู้ที่อ่อนแอมักทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม
๔. ผู้ที่เข้มแข็งจะไม่บอกความลับแก่ใคร และไม่ต้องการรู้ความลับของผู้อื่น อีกทั้งสนใจเฉพาะสิ่งที่สร้างสรรค์.....แต่ผู้ที่อ่อนแอมักทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม
๕. ผู้ที่เข้มแข็งไม่กลัวความล้มเหลว คิดว่าความล้มเหลวเป็นเรื่องปกติ ที่สามารถเริ่มต้นใหม่ แก้ไข ปรับปรุงใหม่ ได้เสมอ.....แต่ผู้ที่อ่อนแอมักทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม
๖. ผู้ที่เข้มแข็งไม่ต้องการทราบว่าผู้อื่นคิดเห็นกับตนอย่างไร มีความเชื่อมั่น ทำในสิ่งที่ถูกต้องและมีความมุ่งมั่น.....แต่ผู้ที่อ่อนแอมักทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม
๗. ผู้ที่เข้มแข็งไม่คิดว่าตัวเองเคราะห์ร้าย แต่มีความยินดีที่ยอมรับและต่อสู้กับอุปสรรคอย่างหน้าชื่นตาบาน ไม่คิดท้อแท้ยอมจำนน.....แต่ผู้ที่อ่อนแอมักจะทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม
บางครั้ง ความท้อแท้อาจทำให้เราอ่อนแอ แต่ความพยายามในการสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ย่อมนำมาซึ่งสิ่งดี ๆ ในชีวิต...ตลอดไป
บทความจาก : http://www.dhammadelivery.com/story-detail.php?sto_id=570
การทำบุญ
ชาวพุทธส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิด เกี่ยวกับเรื่องของ "บุญ" ซึ่งคิดเพียงแต่ว่า การทำบุญก็คือ การตักบาตร การถวายปัจจัย ถวายทรัพย์ การถวายสังฆทาน ฯลฯ เพียงเท่านี้เป็นต้น ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว การทำบุญยังสามารถทำได้อีกหลายทาง
"บุญ" หรือ "ปุญญ" แปลว่า ชำระ หมายถึงการทำให้หมดจด ปราศจากมลทิน เครื่องเศร้าหมอง อันได้แก่ ความโลภ (โลภะ) ความโกรธ (โทสะ) และ ความหลง (โมหะ) ซึ่งเราสามารถ สร้าง บุญ ได้ 10 ทาง ซึ่งเรียกว่า บุญกริยาวัตถุ 10 เพื่อกำจัดเครื่องเศร้าหมองทั้ง 3 ข้างต้น คือ
๑. ทาน หรือ การให้ เพื่อกำจัด ความโลภ เป็นการให้สิ่งที่ตนมี หรือ ตนเป็นเจ้าของ แก่บุคคลอื่นๆ ทั้งทรัพย์สินเงินทอง ความรู้ ความสามารถ ก็สามารถให้ได้ทั้งนั้น เช่น การตักบาตร การบริจาคทรัพย์ ถวายสังฆทาน การสอน การให้การอบรมตักเตือน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็น การบริจาค การให้ (จาคะ) เพราะจะทำให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส จากการให้ อย่างไม่หวังผลตอบแทน และ ไม่หวงแหน ทำลายความตระหนี่ได้ ซึ่งนับเป็นบุญอย่างหนึ่ง แต่การให้บางอย่างก็ไม่สมควรให้เพราะจะทำให้บุคคลอื่นเกิดโทษ หรือ ทำบาปได้ เช่น สุรา หรือ มหรสพ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดกามคุณ เป็นต้น
๒. ศีล หรือ การรักษาศีล เพื่อกำจัด ความโกรธ คือ ความประพฤติที่ไม่ละเมิด หรือ รักษาความสำรวม ทางกาย วาจา และ ใจไว้ อย่างเช่น การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการพูดเท็จ หรือ พูดส่อเสียด และ งดเว้นจากการดื่มสุรา หรือ เสพสิ่งเสพติด เป็นต้น
๓. ภาวนา หรือ การนั่งสมาธิ วิปัสนา เป็นการ การอบรมจิต ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อกำจัด ความหลง
๔. ความเป็นผู้นอบน้อม ต่อผู้ที่ควรนอบน้อม (อปจายนะ) เมื่อเราเป็นผู้อ่อนน้อม ถ่อมตน จะทำให้จิตใจเรานั้นอ่อนโยนลง ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของบุคคลอื่น ไม่ทำร้ายบุคคลอื่น และ ไม่หลงตนเอง
๕. ความขวนขวายในกิจ หรือ งาน ที่ควรกระทำ (เวยยาวัจจะ) การงานที่ทำไม่ว่าทำงานอะไร การตั้งใจทำงานนั้นให้ประสบความสำเร็จ มุ่งมั่นตั้งใจ จะทำให้จิตใจของเรานั้น มีสมาธิการในช่วงเวลาของการทำงานนั้นๆ เป็นการฝึกสมาธิอีกทางหนึ่ง
๖. การให้บุญที่ตนถึงแล้ว แก่บุคคลอื่น (ปัตติทาน) เช่นการอุทิศแผ่ส่วนบุญ ส่วนกุศล การกวดน้ำ เป็นต้น การทำเช่นนี้ทำให้จิตใจเรานั้น มีความอ่อนโยน ปราถนาดีให้กับบุคคลอื่น ต้องการให้บุคคลอื่น มีความสุขเช่นเดียวกันตน เมื่อจิตใจเป็นเช่นนี้ การทำผิดศีล ก็จะไม่เกิดขึ้น อีกทั้งยังสร้างความเมตตา กรุณา ในใจของเราอีกด้วย
๗. การยินดีในบุญที่คนอื่นถึงพร้อม (ปัตตานุโมทนา) เช่น เห็นคนอื่น ทำบุญตักบาตร เมื่อเราพลอยปลื้มปิติยินดี กล่าวอนุโมทนา เพียงเท่านี้ก็ได้บุญแล้ว เพราะ การยินดีกับบุญที่บุคคลอื่นทำ นั่นหมายถึง เรามีมุทิตาจิต ทำให้จิตใจเราผ่องใสขึ้น ทำให้ละความโกรธ และ ความหลง ลงได้
๘. การฟังธรรม (ธัมมัสสวนะ) ไม่ว่าจะฟังธรรมโดยตรง หรือ จากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ จาก CD, VDO, หรือ MP3 ก็ตาม ก็จัดว่าเป็นการฟังธรรมทั้งสิ้น การฟังธรรม และ นำธรรมะที่ได้รับนั้นไปปฏิบัติ จะทำให้เรามีจิตใจที่อ่อนโยน มีการประพฤติปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ไม่ทำผิดศีล เกรงกลัวต่อบาป และ ยังทำให้เรามีสติ มีสมาธิ อีกด้วย
๙. การแสดงธรรม (ธัมมเทศนา) เมื่อได้ศึกษาธรรมะแล้ว การถ่ายทอดให้แก่บุคคลอื่น นับเป็นบุญประการหนึ่งด้วย เพราะได้ทำให้คนอีกหลายๆคน ได้มีมุมมองการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง ตามธรรมะที่แสดงไปนั้น และ เท่ากับเป็นการสืบทอดพระศาสนาของพระบรมศาสดาด้วย แต่ไม่ทุกคนที่จะสามารถแสดงธรรมได้ถูกต้อง หากตนเองไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ก็อาจจะเพียงแนะนำให้บุคคลอื่นได้ไปอ่าน ไปศึกษา หลักธรรม เพียงเท่านี้ ก็ได้บุญแล้วเช่นกัน
"การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง"
๑๐. การกระทำความเห็นให้ตรง หรือ สัมมาทิฏฐิ (ทิฏฐุชุกรรม) การมีความคิดเห็นที่ตรง ที่ถูกต้องนั้น จะทำให้เราประพฤติปฏิบัติตน เป็นคนดี สามารถละเว้นความชั่ว หรือ ทิฏฐิ ของตนได้ ซึ่งเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีความคิดเห็นที่ตรงนั้น ต้องศึกษาอย่างจริงๆจังๆ และ ต้องหัดสังเกตุตนเองอยู่บ่อยๆ เมื่อทำเช่นนี้ ก็จะทำให้เรา สติ อยู่กับตนเอง การมีสติ ก็จะทำให้เรางดเว้นการทำบาปทั้งปวงเช่นกัน
ซึ่งจะเห็นว่า การทำบุญทั้ง ๑๐ วิธีนั้น มีเพียงข้อแรกเท่านั้นที่ต้องใช้ทรัพย์สินเงินทอง อีก ๙ วิธีล้วนแล้วแต่ใช้พฤติกรรม และ จิตใจของเรา โดยไม่ต้องใช้ทรัพย์ ซึ่งเมื่อได้รู้ดังนี้แล้ว คุณก็จะสามารถทำบุญได้ ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด
บทความจาก : http://www.siamsouth.com/smf/index.php/topic,69.0.html
ชาวพุทธส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิด เกี่ยวกับเรื่องของ "บุญ" ซึ่งคิดเพียงแต่ว่า การทำบุญก็คือ การตักบาตร การถวายปัจจัย ถวายทรัพย์ การถวายสังฆทาน ฯลฯ เพียงเท่านี้เป็นต้น ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว การทำบุญยังสามารถทำได้อีกหลายทาง
"บุญ" หรือ "ปุญญ" แปลว่า ชำระ หมายถึงการทำให้หมดจด ปราศจากมลทิน เครื่องเศร้าหมอง อันได้แก่ ความโลภ (โลภะ) ความโกรธ (โทสะ) และ ความหลง (โมหะ) ซึ่งเราสามารถ สร้าง บุญ ได้ 10 ทาง ซึ่งเรียกว่า บุญกริยาวัตถุ 10 เพื่อกำจัดเครื่องเศร้าหมองทั้ง 3 ข้างต้น คือ
๑. ทาน หรือ การให้ เพื่อกำจัด ความโลภ เป็นการให้สิ่งที่ตนมี หรือ ตนเป็นเจ้าของ แก่บุคคลอื่นๆ ทั้งทรัพย์สินเงินทอง ความรู้ ความสามารถ ก็สามารถให้ได้ทั้งนั้น เช่น การตักบาตร การบริจาคทรัพย์ ถวายสังฆทาน การสอน การให้การอบรมตักเตือน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็น การบริจาค การให้ (จาคะ) เพราะจะทำให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส จากการให้ อย่างไม่หวังผลตอบแทน และ ไม่หวงแหน ทำลายความตระหนี่ได้ ซึ่งนับเป็นบุญอย่างหนึ่ง แต่การให้บางอย่างก็ไม่สมควรให้เพราะจะทำให้บุคคลอื่นเกิดโทษ หรือ ทำบาปได้ เช่น สุรา หรือ มหรสพ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดกามคุณ เป็นต้น
๒. ศีล หรือ การรักษาศีล เพื่อกำจัด ความโกรธ คือ ความประพฤติที่ไม่ละเมิด หรือ รักษาความสำรวม ทางกาย วาจา และ ใจไว้ อย่างเช่น การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการพูดเท็จ หรือ พูดส่อเสียด และ งดเว้นจากการดื่มสุรา หรือ เสพสิ่งเสพติด เป็นต้น
๓. ภาวนา หรือ การนั่งสมาธิ วิปัสนา เป็นการ การอบรมจิต ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อกำจัด ความหลง
๔. ความเป็นผู้นอบน้อม ต่อผู้ที่ควรนอบน้อม (อปจายนะ) เมื่อเราเป็นผู้อ่อนน้อม ถ่อมตน จะทำให้จิตใจเรานั้นอ่อนโยนลง ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของบุคคลอื่น ไม่ทำร้ายบุคคลอื่น และ ไม่หลงตนเอง
๕. ความขวนขวายในกิจ หรือ งาน ที่ควรกระทำ (เวยยาวัจจะ) การงานที่ทำไม่ว่าทำงานอะไร การตั้งใจทำงานนั้นให้ประสบความสำเร็จ มุ่งมั่นตั้งใจ จะทำให้จิตใจของเรานั้น มีสมาธิการในช่วงเวลาของการทำงานนั้นๆ เป็นการฝึกสมาธิอีกทางหนึ่ง
๖. การให้บุญที่ตนถึงแล้ว แก่บุคคลอื่น (ปัตติทาน) เช่นการอุทิศแผ่ส่วนบุญ ส่วนกุศล การกวดน้ำ เป็นต้น การทำเช่นนี้ทำให้จิตใจเรานั้น มีความอ่อนโยน ปราถนาดีให้กับบุคคลอื่น ต้องการให้บุคคลอื่น มีความสุขเช่นเดียวกันตน เมื่อจิตใจเป็นเช่นนี้ การทำผิดศีล ก็จะไม่เกิดขึ้น อีกทั้งยังสร้างความเมตตา กรุณา ในใจของเราอีกด้วย
๗. การยินดีในบุญที่คนอื่นถึงพร้อม (ปัตตานุโมทนา) เช่น เห็นคนอื่น ทำบุญตักบาตร เมื่อเราพลอยปลื้มปิติยินดี กล่าวอนุโมทนา เพียงเท่านี้ก็ได้บุญแล้ว เพราะ การยินดีกับบุญที่บุคคลอื่นทำ นั่นหมายถึง เรามีมุทิตาจิต ทำให้จิตใจเราผ่องใสขึ้น ทำให้ละความโกรธ และ ความหลง ลงได้
๘. การฟังธรรม (ธัมมัสสวนะ) ไม่ว่าจะฟังธรรมโดยตรง หรือ จากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ จาก CD, VDO, หรือ MP3 ก็ตาม ก็จัดว่าเป็นการฟังธรรมทั้งสิ้น การฟังธรรม และ นำธรรมะที่ได้รับนั้นไปปฏิบัติ จะทำให้เรามีจิตใจที่อ่อนโยน มีการประพฤติปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ไม่ทำผิดศีล เกรงกลัวต่อบาป และ ยังทำให้เรามีสติ มีสมาธิ อีกด้วย
๙. การแสดงธรรม (ธัมมเทศนา) เมื่อได้ศึกษาธรรมะแล้ว การถ่ายทอดให้แก่บุคคลอื่น นับเป็นบุญประการหนึ่งด้วย เพราะได้ทำให้คนอีกหลายๆคน ได้มีมุมมองการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง ตามธรรมะที่แสดงไปนั้น และ เท่ากับเป็นการสืบทอดพระศาสนาของพระบรมศาสดาด้วย แต่ไม่ทุกคนที่จะสามารถแสดงธรรมได้ถูกต้อง หากตนเองไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ก็อาจจะเพียงแนะนำให้บุคคลอื่นได้ไปอ่าน ไปศึกษา หลักธรรม เพียงเท่านี้ ก็ได้บุญแล้วเช่นกัน
"การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง"
๑๐. การกระทำความเห็นให้ตรง หรือ สัมมาทิฏฐิ (ทิฏฐุชุกรรม) การมีความคิดเห็นที่ตรง ที่ถูกต้องนั้น จะทำให้เราประพฤติปฏิบัติตน เป็นคนดี สามารถละเว้นความชั่ว หรือ ทิฏฐิ ของตนได้ ซึ่งเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีความคิดเห็นที่ตรงนั้น ต้องศึกษาอย่างจริงๆจังๆ และ ต้องหัดสังเกตุตนเองอยู่บ่อยๆ เมื่อทำเช่นนี้ ก็จะทำให้เรา สติ อยู่กับตนเอง การมีสติ ก็จะทำให้เรางดเว้นการทำบาปทั้งปวงเช่นกัน
ซึ่งจะเห็นว่า การทำบุญทั้ง ๑๐ วิธีนั้น มีเพียงข้อแรกเท่านั้นที่ต้องใช้ทรัพย์สินเงินทอง อีก ๙ วิธีล้วนแล้วแต่ใช้พฤติกรรม และ จิตใจของเรา โดยไม่ต้องใช้ทรัพย์ ซึ่งเมื่อได้รู้ดังนี้แล้ว คุณก็จะสามารถทำบุญได้ ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด
บทความจาก : http://www.siamsouth.com/smf/index.php/topic,69.0.html
วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อกิเลส
หลวงปู่เจี๊ยะเล่าว่า ตอนบวชพรรษาแรก ๆ ท่านก็เหมือนคนหนุ่มทั่วไป
ที่ถูกกิเลสครอบงำอยู่บ่อย ๆ ทำให้เกียจคร้านในการปฏิบัติ
แต่ท่านเป็นคนจริง ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อกิเลสง่าย ๆ
เวลานึกจะทำตามกิเลส ก็ตำหนิต่อว่าตนเองแรง ๆ
เช่น “มึงเป็นพระให้เขากราบไหว้ แล้วมึงภาวนานั่งสู้ญาติโยมแก่ๆ ไม่ได้
แล้วมึงจะมาบวชทำไม” หรือไม่ก็ด่าตนเองว่า
“กูบวชมากินข้าวชาวบ้านแล้วยังพาลมาขี้เกียจอีก”
เวลานึกได้เช่นนี้ก็รู้สึกละอายใจตนเอง
ถึงกับต้องตั้งสัจจะอธิษฐานกับตัวเองว่า
“ถ้ามึงภาวนาไม่ได้ให้มึงตายซะ ถ้ามึงไม่มีสัจจะในตน
ขอให้ฟ้าผ่า แผ่นดินสูบ น้ำท่วมตายซะ อย่ามีหน้ามาอยู่ดูโลกนี้อีกเลย”
พออธิษฐานเช่นนี้ ใจจะคึกคักขึ้นมาทันที เกิดความแกล้วกล้า
พร้อมภาวนาแบบสู้ตายถวายชีวิต เดินจงกรมได้ทั้งวันทั้งคืน
โดยไม่ต้องนอน จนจิตสงบนิ่งเหมือนตัวลอยหรือเหาะได้อยู่บ่อยๆ
คำสอน " การอยู่ร่วมกัน ในวงของผู้ปฏิบัติธรรม " โดย หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ
เขียนโดย LooKNuM ที่ 06:57
|
ธรรมโอวาท เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน
ในวงของผู้ปฏิบัติธรรม
หลวงพ่อท่านได้ให้ โอวาทเตือนผู้ปฏิบัติไว้ว่า..
"การมาอยู่ด้วยกัน ปฏิบัติด้วยกัน มากเข้า
ย่อมมีเรื่องกระทบกระทั่งกันเป็นธรรมดา
ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนคนธรรมดาอยู่
ทิฏฐิความเห็นย่อมต่างกัน
ขอให้เอาแต่ส่วนดีมาสนับสนุนกัน
อย่าเอาเลวมาอวดกัน"
การปรามาสพระก็ดี การพูดจาจ้วงจาบในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
หรือท่านที่มีศีล มีธรรมก็ดี จะเป็นกรรมติดตัวเรา
และขัดขวางการปฏิบัติธรรมในภายหน้า
ดังนั้น หากเห็นใครทำความดี ก็ควรอนุโมทนายินดีด้วย
แม้ต่างวัด ต่างสำนักหรือแบบปฏิบัติต่างกันก็ตาม
ไม่มีใครผิดหรอก เพราะจุดมุ่งหมายต่างก็เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์เช่นกัน
เพียงแต่เราจะทำให้ดี ดียิ่ง ดีที่สุดเท่านั้น
ขอให้ถามตัวเราเองเสียก่อนว่า "แล้วเราล่ะ ถึงที่สุดแล้วหรือยัง ?"
โอวาทธรรมจากหลวงปู่ชา สุภัทโท
คนจะบรรลุธรรมะ จะได้เห็นธรรมะ
ต้องรู้จักว่า ธรรมะอยู่ตรงไหนเสียก่อน
ธรรมะที่แท้จริงอยู่ที่ไหน อยู่ที่นี่ อยู่ที่กาย อยู่ที่ใจนี้
ให้เอาใจนี้พิจารณากาย นี้เป็นหลักของการพิจารณา
คำสอน " ทุกชีวิตมีเวลาจำกัด อย่างมากไม่เกินร้อยปีก็จะต้องละร่างนี้ " โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
เขียนโดย LooKNuM ที่ 06:48ทุกชีวิตมีเวลาจำกัด อย่างมากไม่เกินร้อยปีก็จะต้องละร่างนี้
..." ทุกชีวิตมีเวลาจำกัด อย่างมากไม่เกินร้อยปีก็จะต้องละร่างนี้
..ละโลกนี้ไป อย่าผลัดวันประกันพรุ่งที่จะทำความดี
..เพราะถ้าสายเกินไปเมื่อไร ก็ตนเองนั่นแหละ
..จะต้องได้เสวยผลของการไม่กระทำกรรมดี
..ไม่มีผู้ใดอื่นจะรับผลของความดีความชั่วที่ตนเองทำไว้
..เจ้าตัวเองเท่านั้น จักเป็นผู้รับผลของความดีความชั่วที่ตนทำ "...
คำสอน " เพียงแต่เคารพกราบไหว้บูชาด้วยดอกไม้ ธูปเทียน...มันก็พ้นทุกข์ไปไม่ได้ " โดยหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
เขียนโดย LooKNuM ที่ 06:44เพียงแต่เคารพกราบไหว้บูชาด้วยดอกไม้ ธูปเทียน...มันก็พ้นทุกข์ไปไม่ได้
เพียงแต่เคารพกราบไหว้บูชาด้วยดอกไม้
ธูปเทียน เฉยๆ เท่านั้นน่ะ
แล้วไม่ละชั่วทำดีตามที่พระองค์เจ้าแนะนำสั่งสอนนั้น
มันก็พ้นทุกข์ไปไม่ได้
เพียงแค่กราบไหว้บูชาด้วยดอกไม้นั้น
มันจะพ้นจากนรก จากอบายภูมิไม่ได้เลย
ขอให้พากันคิดให้ดี ก็เป็นเพียงอุปนิสัย
ปัจจัยติดตัวไปนิดหน่อยเท่านั้นเองแหละ
แต่ว่าไม่พ้นนรก เพราะบุคคลยังไปทำบาปอยู่
ยังลุอำนาจแก่ตัณหาอยู่
เช่นนี้แล้วมันจะพ้นจากนรกไม่ได้เลย
ผู้นับถือพระพุทธศาสนานี้
ควรพยายามน้อมเอาคำสอนของพระพุทธเจ้า
เข้ามาตริตรอง พิจารณาอยู่ภายในใจนี้
ให้มันเห็นแจ้งด้วยใจของตนเองแท้ๆ
นั่นแหละมันถึงจะปฏิบัติตามได้
ถ้าไม่เห็นแจ้งด้วยใจของตนในเรื่องบาป เรื่องบุญ
เรื่องคุณ เรื่องโทษก็ดี
อย่างนี้แล้วจะไม่ยอมปฏิบัติตาม
คนเราน่ะเป็นอย่างนั้น
ถ้าเห็นแจ้งแก่ใจแล้วว่า
สิ่งที่พระองค์เจ้าทรงแสดงว่าเป็นบาป
มันก็เป็นบาปจริงๆ ให้มันเห็นแจ้งเลย มันเป็นบาป
เพราะเหตุว่าเป็นการไปก่อทุกข์ให้แก่ผู้อื่น
นั่นแหละว่าเป็นบาป
เมื่อทำอะไรลงไปแล้วมันต่อทุกข์ให้แก่ตนบ้าง
ให้แก่ผู้อื่นบ้าง อย่างนี้มันเป็นบาปทั้งนั้นแหละ
ที่มา : หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
คำสอนหลวงพ่อ
สุขในชีวิตสมณะ
ชีวิตสมณะ ถ้าใช้ชีวิตด้วยการหยุดกับนิ่ง
คือทำอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสอน
ให้ระวังรักษาจิตดวงเดียว
ไม่ต้องไปคิดเรื่องคน สัตว์ สิ่งของ
เอาใจหยุดนิ่ง ๆ สบาย ๆ ภายใน มันมีความสุขนะ
แล้วมีเรื่องที่น่าศึกษา ทุกชั้นตอนที่ผ่านไปมันมีความสุข
มีทั้งความรู้ มีทั้งความสุข ใจก็เบิกบานอย่างบอกไม่ถูก
เหมือนเอาปิ่นโตที่ใส่อาหารมา
เราเปิดฝาชั้นแรกว่าอร่อยแล้ว
พอยกไปชั้นที่ ๒ อร่อยกว่านั้นเข้าไปอีก
ชั้น ๓ ชั้น ๔ ชั้น ๕ เป็นเถา ๆ ยาวเหยียดไปเลย
วันนี้หยุดได้แค่นี้ว่าอร่อยแล้ว
หยุดหนักเข้าไปอีก หยุดในหยุด
อร่อยกว่าเดิมเข้าไปอีกเรื่อย ๆ เลย
ที่มา : ธรรมะไทย
วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ดีชั่วอยู่ที่ตัวเรา
นักดนตรี...เว้นฝึกซ้อม... ๕วันก็เลือน
นักแม่นธนู...เว้นฝึกซ้อม... ๗วันฝีมือย่อมตก
นักศึกษา...เว้นจากตำราเรียน...ครึ่งเดือน...ย่อมลืมวิชา
แต่ความดี...และความชั่ว...ที่ได้กระทำแล้ว...มิอาจเลือน...หายไปไหน
ดี...ชั่ว...อยู่ที่ตัวทำ
สูง...ตำ่...อยู่ที่ทำตัว
คิดดี...พูดดี...ทำดี
สิ่งดีๆ...เกิดขึ้นกับเรา...แน่นอน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
0 ความคิดเห็น: