วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555
เชิญตะวัน
"เชิญตะวัน" เชิญสิ่งดีๆ มาสู่ชีวิต เชิญพรที่สัมฤทธิ์มาสร้างชีวา พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการศึกษา มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพในการเป็นนักศึกษา กล่าวคือ สามารถฝึก หัด พัฒนา ให้มีพัฒนาการที่ดียิ่งๆ ขึ้นไปจากปุถุชนจนเป็นกัลยาณชน และอารยชนในที่สุด ผู้ที่ศึกษาสำเร็จการศึกษาตามแนวทางของพุทธศาสนา นับว่าเป็น “พุทธะ” คือ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
DOWNLOAD : http://www.ilovelibrary.com/book_detail_nologin.php?id=06600006932&group=BK-068
บุตรธิดา คือ กระจกเงาของพ่อแม่
หากคุณเอาดอกไม้ใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นคนจิตใจงดงาม
หากคุณเอาความรักใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นคนเปี่ยมเมตตา
หากคุณเอาเหตุผลใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์
หากคุณเอาหนังสือใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นปัญญาชน
หากคุณเอาธรรมะใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นคนดี
หากคุณเอานิสัยแห่งการให้ใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นคนมีจิตสำนึกสาธารณะ
หากคุณเอาสมบัติผู้ดีใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นสุภาพบุรุษ/สุภาพสตรี
หากคุณเอาดนตรีใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นคนอารมณ์ดี
หากคุณเอาธรรมชาติใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นคนรักความสงบ
หากคุณเอาความก้าวร้าวใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นอันธพาล
หากคุณเอาความตามใจใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นลูกบังเกิดเกล้าจอมอหังการ
หากคุณเอาเงินใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นคนมักง่าย
หากคุณเอาปืนใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นฆาตกร
หากคุณเอาวัตถุแพงๆ ใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นคนยึดติดวัตถุนิยม
หากคุณเอาความรักสบายใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นคนหยิบโหย่งอ่อนแอ
หากคุณเอาความไม่รับผิดชอบใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นคนสูญเสียสามัญสำนึก
หากคุณเอาความริษยาใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นคนที่ขาดความสงบสุขในชีวิต
หากคุณเอาแต่วิชาชีพใส่มือให้เด็ก
เขาจะกลายเป็นคนสมองโตแต่ใจตีบ
ในฐานะที่เป็นพ่อและแม่
วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555
คำสอน " วิธีทำให้นายรักและไว้วางใจในหน้าที่ " โดยพระราชสุทธิญาณมงคล วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี
เขียนโดย LooKNuM ที่ 22:29วิธีทำให้นายรักและไว้วางใจในหน้าที่
๑.ถ้าผู้เป็นนายนั้นสั่งหรือมอบหมายให้ทำงานใดๆแล้ว ถ้ารับปากก็จงทำงานนั้นจนสำเร็จ ไม่ควรให้เขาเตือนเป็นครั้งที่ ๒
๒. รักษาหรือทำสถานที่ทำงานนั้นให้สะอาดอยู่เสมอ
๓. วัตถุหรือสิ่งใดๆวางเกะกะพึงเก็บเสียเองให้เรียบร้อย อย่ารอให้เขาเตือน
๔. พึงทำงานให้คุ้มค่าแรง และให้เหลือกว่าค่าแรงเสมอ
๕. สิ่งใดที่ไม่ถึงกับทำให้เสียก็พึงระมัดระวังให้มาก อย่าพึงให้เสีย
๗. ถ้าเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินทอง มีบิลแสดงรายการได้ยิ่งดี
๘. ถ้าเกี่ยวกับเงินทอง จะต้องซื่อตรงเสมอ แม้จำนวนเล็กน้อยก็ตาม
๙. อย่าทำงานใดในการริเริ่มใหม่ และสำคัญโดยยังไม่ได้ปรึกษาก่อน
๑๐. งานที่ทำสำเร็จผ่านมาพึงอย่าเบื่อหน่ายในการรายงานให้นายทราบ
๑๑. หาความรู้ในงานที่สูงหรือยากลำบากยิ่งๆขึ้นไป เพื่อเลื่อนหน้าที่ตำแหน่งงานของตนให้สูงขึ้น
๑๒. อย่าสร้างความขัดแย้งหรือศัตรูกับผู้ร่วมงานด้วยกัน
๑๓. อย่าละทิ้งหน้าที่หรืองานนั้นในขณะรับผิดชอบ ไปทำงานที่เป็นกิจส่วนตัว
๑๔. อย่านินทากล่าวร้ายนายเก่าให้นายใหม่ฟังเด็ดขาด
๑๕. พึงยึดคติที่ว่า "อยู่ให้เขาไว้วางใจ ไปให้เขาเสียดาย คิดถึง"
๑๖. ความบกพร่องในการทำงานหรือหน้าที่ที่ผ่านมา พึงจดจำโน้ตไว้เพื่อแก้ไขต่อไป
๑๗. อย่าคบคนเสเพลและดื่มของมึนเมาขณะปฏิบัติหน้าที่
๑๘. จะมอบหมายให้ใครไปทำงานใดๆ พึงดูความสมัครใจ ความเต็มใจ ความสามารถของคนที่มอบหมายนั้นให้มากๆอย่างลึกซึ้งก่อน
คำสอน " ยิ่งมีความสงบ ยิ่งเกิดความสุข " โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เขียนโดย LooKNuM ที่ 22:22ยิ่งมีความสงบ ยิ่งเกิดความสุข
ที่จริง จิตใจเวลามีความปรารถนาต้องการกับ
เวลาไม่มีความปรารถนาต้องการนั้นแตกต่างกันมาก
จิตใจยามมีความโลภหรือความปรารถนาต้องการนั้น
ไม่ได้มีความสุข มีแต่ความร้อนความตื่นเต้น
กระวนกระวายขวนขวายเพื่อให้ได้สมปรารถนา
จิตใจยามไม่มีความปรารถนาต้องการนั้น
มีความสุขอย่างยิ่ง เห็นจะต้องเปรียบง่ายๆ คือ
ในยามหลับกับในยามตื่น
ยามหลับไม่มีความปรารถนาต้องการ
ยามตื่นมีความปรารถนาต้องการทุกคนเหมือนกัน ไม่มียกเว้น
ยามไหนเป็นยามสบายที่สุด ทุกคนตอบได้และคำตอบของทุกคนเหมือนกัน
คนที่หลับแล้ว สงบแล้วจากความปรารถนาต้องการ
ไม่ว่าจะหลับบนฟูกอันอ่อนนุ่มในคฤหาสน์ใหญ่โตมโหฬาร
หรูหราเพียงใด หรือจะหลับอยู่บนดินทรายแข็งระคายเพียงไหน
ย่อมเป็นสุข เพราะจิตใจพ้นจากอำนาจของความปรารถนา
ต้องการที่เป็นเหตุแห่งความทุกข์ความร้อน
แม้คิดเปรียบถึงความสุขและความไม่สุขของคนนอนหลับกับคนตื่นอยู่
กับความสุขและความไม่สุขของคนมีความปรารถนาต้องการรุนแรง
ในใจคนมีความปรารถนาต้องการน้อยก็จะได้พบคำตอบที่ชัดเจน
ที่น่าจะทำให้ตัดสินใจเลือกได้ว่า ควรพยายามทำใจตนเองให้มี
ความปรารถนาต้องการน้อยหรือไม่
ที่มา : www.inwza.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
0 ความคิดเห็น: